เมนู

ในทุติยบท พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงการประหาณ
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพ-
เหตุ
(สภาวธรรมเหล่านั้นมีเหตุพึงประหาณด้วยภาวนาคือมรรคเบื้องบน 3 มีอยู่)
ดังนี้. ด้วยว่า โมหะอันสหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น กระทำสัมปยุตตธรรมกับตน
ให้เป็นสเหตุกะและหมุนไปข้างหลัง จะจัดเป็นมหาตัพพเหตุบทก็ไม่ได้ เพราะ
ไม่มีสัมปยุตตเหตุแห่งกันและกัน เหมือนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ฉะนั้น.
ในตติยบท บทว่า อวเสสา กุสลากุสลา (กุศลและอกุศล
ที่เหลือ) ความว่า การถืออกุศลอีกทรงกระทำไว้เพื่ออันรวมโมหะทั้งหลายอัน
สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เพราะโมหะเหล่านั้นไม่ชื่อว่า มีเหตุที่
จะพึงละ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุ.

ว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยใน ปริตตารัมมณติกะ ต่อไป
บทว่า อารพฺภ (ปรารภ) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์ จริงอยู่
ตัวเองจะเป็นปริตตธรรม หรือเป็นมหัคคตธรรมก็ตาม ธรรมใดทำปริตตธรรม
ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปริตตะ)
ธรรมใดทำมหัคคตะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า มหัคคตา-
รมณ์
(มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ) ธรรมเหล่าใดทำอัปปมาณธรรมทั้งหลายให้เป็น
อารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ)
อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง เป็นอัปปมาณะ
บ้าง.

ว่าด้วยนิทเทสมิจฉัตตติกะที่ 15


พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตติกะ ต่อไป